- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 ตุลาคม 2563
ข้าว
1) สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ11,416บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,747 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น15%สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ8,491บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,588บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.13
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 29,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,250 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,930 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 2.47
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 916 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,381 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 912 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,235 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 146 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,407 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 463ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,334 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 73 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 474 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,686 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 466ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,427 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 259 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9837 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมาภาวะราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นหลังจากเกิดฝนตกหนักในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงขณะที่ช่วงนี้กำลังเก็บเกี่ยวข้าว ส่งผลให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงเกิดภาวะอุปทานตึงตัวท่ามกลางความคาดหวังที่ว่าฟิลิปปินส์จะกลับมาสั่งซื้อข้าวเวียดนามอีกครั้ง โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 485-495 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจากตันละ485-490 ดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตามผลผลิตข้าวที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้ค่อนข้างมีคุณภาพต่ำเพราะข้าวมีความชื้นมาก
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 3-30 ตุลาคม 2563 จะมีเรือบรรทุกสินค้าอย่างน้อย 7 ลำ เข้ามาเทียบท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อรอรับการขนถ่ายข้าวประมาณ 101,350 ตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2563/64 (มกราคม-ธันวาคม 2564) ประเทศเวียดนามจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 43.20 ล้านตัน ลดลงจากจำนวน 43.51 ล้านตัน ในปี 2562/63 เนื่องจาก
คาดว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวจะลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งและน้ำทะเลรุกเข้าในพื้นที่ทางการเกษตรโดยคาดว่าในฤดูหนาว (Winter crop) จะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 8.18 ล้านตันลดลงจาก 8.20 ล้านตัน ในปี 2562/63ส่วนในฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (Winter-Spring crop) คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 20.15 ล้านตัน ลดลงจาก 20.2 ล้านตัน ในปี 2562/63 และในฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (Summer Autumn crop) คาดว่าจะมีผลผลิต ประมาณ 15.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 15.10 ล้านตัน ในปี 2562/63
สำหรับสถานการณ์การเก็บเกี่ยวข้าวในสัปดาห์นี้ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังเก็บเกี่ยวข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (ผลผลิตข้าวบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณร้อยละ 83 ของปริมาณผลผลิตข้าวฤดูนี้) โดยขณะนี้ใกล้จะเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว คาดว่าจะช่วยผ่อนคลายภาวะอุปทานข้าวตึงตัวและทำให้ราคาข้าวอ่อนตัวลงได้
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมา
สหพันธ์ข้าวเมียนมา (The Myanmar Rice Federation; MRF) คาดว่าในปีงบประมาณ 2563/64
(1 ตุลาคม 2563-30 กันยายน 2564) จะมีการส่งออกข้าวประมาณ 2.5 ล้านตัน จากปัจจัยสำคัญได้แก่ ความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ยังคงมีต่อเนื่อง อัตราแลกเปลี่ยนที่เอื้อต่อการส่งออก และการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวในประเทศ
ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2562/63 เมียนมาส่งออกข้าวได้มากกว่า 2.5 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 794.3
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ39 เมื่อเทียบกับปี 2561/62 โดยส่งออกไปกว่า 60 ประเทศ
ซึ่งประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดคือจีน รองลงมาเช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาดากัสการ์โปแลนด์กินีเบลเยี่ยม เซเนกัล อินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร เป็นต้น โดยเป็นการส่งออกผ่านทางชายแดนประมาณร้อยละ 16 และส่งไปทางเรือบรรทุกสินค้าประมาณร้อยละ 84 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินโดนีเซีย
สำนักงานสถิติแห่งชาติ(the Central Statistics Agency; BPS) คาดว่าในปี 2563จะมีผลผลิตข้าวเปลือก (dry unhusked rice) ประมาณ 55.16 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.02 เมื่อเทียบกับจำนวน 54.60 ล้านตัน
ในปีที่แล้ว คิดเป็นผลผลิตข้าวสารประมาณ 31.63 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 1 โดยพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวมีประมาณ 67.44 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 1.02 สำหรับการบริโภคข้าวคาดว่ามีประมาณ 29.37 ล้านตัน ทำให้มีผลผลิตส่วนเกินประมาณ 2.26 ล้านตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงเนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงประกอบกับความต้องการข้าวจากต่างประเทศมีน้อยลง เนื่องจากผู้ซื้อได้ชะลอการสั่งซื้อข้าวในช่วงนี้เพราะที่ผ่านมาได้นำเข้าข้าวจำนวนมากแล้ว
ทำให้ยังคงมีข้าวอยู่ในสต็อกเพียงพอ โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 372-377 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 376-382 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่วงการค้าคาดว่าในปีนี้อินเดียอาจจะส่งออกข้าวได้มากถึง 14 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงทำให้ราคาข้าวของอินเดียยังคงต่ำกว่าประเทศคู่แข่งมาก ประกอบกับประเทศคู่แข่งมีแนวโน้มส่งออกข้าวลดลงจากปีที่แล้ว
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ11,416บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,747 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น15%สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ8,491บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,588บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.13
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 29,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,250 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,930 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 2.47
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 916 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,381 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 912 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,235 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 146 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,407 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 463ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,334 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 73 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 474 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,686 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 466ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,427 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 259 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9837 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมาภาวะราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นหลังจากเกิดฝนตกหนักในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงขณะที่ช่วงนี้กำลังเก็บเกี่ยวข้าว ส่งผลให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงเกิดภาวะอุปทานตึงตัวท่ามกลางความคาดหวังที่ว่าฟิลิปปินส์จะกลับมาสั่งซื้อข้าวเวียดนามอีกครั้ง โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 485-495 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจากตันละ485-490 ดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตามผลผลิตข้าวที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้ค่อนข้างมีคุณภาพต่ำเพราะข้าวมีความชื้นมาก
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 3-30 ตุลาคม 2563 จะมีเรือบรรทุกสินค้าอย่างน้อย 7 ลำ เข้ามาเทียบท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อรอรับการขนถ่ายข้าวประมาณ 101,350 ตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2563/64 (มกราคม-ธันวาคม 2564) ประเทศเวียดนามจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 43.20 ล้านตัน ลดลงจากจำนวน 43.51 ล้านตัน ในปี 2562/63 เนื่องจาก
คาดว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวจะลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งและน้ำทะเลรุกเข้าในพื้นที่ทางการเกษตรโดยคาดว่าในฤดูหนาว (Winter crop) จะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 8.18 ล้านตันลดลงจาก 8.20 ล้านตัน ในปี 2562/63ส่วนในฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (Winter-Spring crop) คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 20.15 ล้านตัน ลดลงจาก 20.2 ล้านตัน ในปี 2562/63 และในฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (Summer Autumn crop) คาดว่าจะมีผลผลิต ประมาณ 15.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 15.10 ล้านตัน ในปี 2562/63
สำหรับสถานการณ์การเก็บเกี่ยวข้าวในสัปดาห์นี้ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังเก็บเกี่ยวข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (ผลผลิตข้าวบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณร้อยละ 83 ของปริมาณผลผลิตข้าวฤดูนี้) โดยขณะนี้ใกล้จะเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว คาดว่าจะช่วยผ่อนคลายภาวะอุปทานข้าวตึงตัวและทำให้ราคาข้าวอ่อนตัวลงได้
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมา
สหพันธ์ข้าวเมียนมา (The Myanmar Rice Federation; MRF) คาดว่าในปีงบประมาณ 2563/64
(1 ตุลาคม 2563-30 กันยายน 2564) จะมีการส่งออกข้าวประมาณ 2.5 ล้านตัน จากปัจจัยสำคัญได้แก่ ความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ยังคงมีต่อเนื่อง อัตราแลกเปลี่ยนที่เอื้อต่อการส่งออก และการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวในประเทศ
ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2562/63 เมียนมาส่งออกข้าวได้มากกว่า 2.5 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 794.3
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ39 เมื่อเทียบกับปี 2561/62 โดยส่งออกไปกว่า 60 ประเทศ
ซึ่งประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดคือจีน รองลงมาเช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาดากัสการ์โปแลนด์กินีเบลเยี่ยม เซเนกัล อินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร เป็นต้น โดยเป็นการส่งออกผ่านทางชายแดนประมาณร้อยละ 16 และส่งไปทางเรือบรรทุกสินค้าประมาณร้อยละ 84 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินโดนีเซีย
สำนักงานสถิติแห่งชาติ(the Central Statistics Agency; BPS) คาดว่าในปี 2563จะมีผลผลิตข้าวเปลือก (dry unhusked rice) ประมาณ 55.16 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.02 เมื่อเทียบกับจำนวน 54.60 ล้านตัน
ในปีที่แล้ว คิดเป็นผลผลิตข้าวสารประมาณ 31.63 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 1 โดยพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวมีประมาณ 67.44 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 1.02 สำหรับการบริโภคข้าวคาดว่ามีประมาณ 29.37 ล้านตัน ทำให้มีผลผลิตส่วนเกินประมาณ 2.26 ล้านตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงเนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงประกอบกับความต้องการข้าวจากต่างประเทศมีน้อยลง เนื่องจากผู้ซื้อได้ชะลอการสั่งซื้อข้าวในช่วงนี้เพราะที่ผ่านมาได้นำเข้าข้าวจำนวนมากแล้ว
ทำให้ยังคงมีข้าวอยู่ในสต็อกเพียงพอ โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 372-377 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 376-382 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่วงการค้าคาดว่าในปีนี้อินเดียอาจจะส่งออกข้าวได้มากถึง 14 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงทำให้ราคาข้าวของอินเดียยังคงต่ำกว่าประเทศคู่แข่งมาก ประกอบกับประเทศคู่แข่งมีแนวโน้มส่งออกข้าวลดลงจากปีที่แล้ว
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.55 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.44 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.94 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.85 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.68
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 292.25 ดอลลาร์สหรัฐ (9,055 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 291.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,022 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 33 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 410.52 เซนต์ (5,077 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 409.12 เซนต์ (5,056 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 21 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.86 ล้านไร่ ผลผลิต 28.980 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.27 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.70 ล้านไร่ ผลผลิต 27.347 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.14 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 ร้อยละ 5.97 และร้อยละ 4.07 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.41 ล้านตัน (ร้อยละ 4.85 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.49 ล้านตัน (ร้อยละ 63.79 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ แต่ลานมันเส้นส่วนใหญ่หยุดดำเนินการเนื่องจากมีฝนตก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.58
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.48 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.49 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.14 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,724 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,740 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,687 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,715 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.142 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.206 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.194 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.215 ล้านตัน ของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 4.36 และร้อยละ 4.19 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.66 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.17 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.48
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.69 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 31.75 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.11
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบคาดว่าจะสูงขึ้น เนื่องจากอุปสงค์จากจีนและอินเดียฟื้นตัวขึ้น อีกทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานและอากาศที่แล้งก็เป็นสาเหตุที่จะทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวสูงขึ้น ราคาเฉลี่ย 9 เดือน (เดือนมกราคม - กันยายน 2563) อยู่ที่ตันละ 2,546 ริงกิต ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ย 10 ปี ที่อยู่ที่ตันละ 2,530 ริงกิต ตอนนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบมากกว่าตันละ 3,000 ริงกิต หากราคายังสูงแบบนี้ จีนอาจเปลี่ยนจากการซื้อน้ำมันปาล์มดิบไปซื้อน้ำมันถั่วเหลืองแทน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,205.50 ดอลลาร์มาเลเซีย (24.41 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,952.54 ดอลลาร์มาเลเซีย (22.55 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.57
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 769.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 752.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23.61 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.28
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
- สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานความเป็นไปได้ที่การอุดหนุนการส่งออกของอินเดียในปี 2563/2564 จะน้อยกว่าฤดูการผลิตที่แล้ว ช่วยผลักดันให้ตลาดน้ำตาลนิวยอร์คล่วงหน้าเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน และข้ามระดับไปที่ 15 เหรียญสหรัฐฯ/ปอนด์ ขณะที่ Marex Spectron ตั้งข้อสังเกตว่า แม้จะมีการอุดหนุนการส่งออกจำนวนมากแต่ขาลงมากๆ ของตลาดน้ำตาลล่วงหน้าก็มีโอกาสน้อย
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,072.44 เซนต์ (12.38 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,062.76 เซนต์ (12.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.91
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 382.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 374.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.12
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.83 เซนต์ (23.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 33.14 เซนต์ (22.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.08
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,072.44 เซนต์ (12.38 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,062.76 เซนต์ (12.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.91
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 382.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 374.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.12
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.83 เซนต์ (23.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 33.14 เซนต์ (22.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.08
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.12 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 22.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.55
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 26.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 36.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.11
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 17.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,066.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,067.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 870.75 ดอลลาร์สหรัฐ (26.98 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 879.50 ดอลลาร์สหรัฐ (27.17 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.99 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.19 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,261.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.07 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,213.50 ดอลลาร์สหรัฐ (37.49 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.91 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.58 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 611.00 ดอลลาร์สหรัฐ (18.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 603.50 ดอลลาร์สหรัฐ (18.65 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.28 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,222.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.86 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,222.75 ดอลลาร์สหรัฐ (37.78 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.51บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ44.23 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ9.68
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.91บาทลดลงจากกิโลกรัมละ27.38บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ5.37
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 71.03 เซนต์(กิโลกรัมละ 49.20 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 71.02 เซนต์ (กิโลกรัม 49.15 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.01 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,947 บาท สูงขึ้นจาก 1,933 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.72 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,947 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,553 บาท สูงขึ้นจาก 1,548 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,553 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 933 บาท ลดลงจาก 950 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 1.79 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 933 บาท ส่วนภาคเหนือภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝนและมีพายุในบางพื้นที่ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้ออกมาจับจ่าย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะใกล้สิ้นสุดฤดูฝน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 77.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 72.88 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.14 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.71 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 78.33 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,700 บาท ลดลงจากตัวละ 2,800 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.61
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝนและมีพายุในบางพื้นที่ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้ออกมาจับจ่าย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะใกล้สิ้นสุดฤดูฝน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท กิโลกรัม ภาคกลาง กิโลกรัมละ 31.78 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.92 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 7.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.97 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เทียบเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 273 บาท เทียบเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 286 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 287 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 269 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 290 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 339 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 341 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 314 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 343 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 390 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 96.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 95.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.98 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.64 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.19 บาท และภาคใต้ 102.86 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.5 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.81 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 ตุลาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.05 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.09 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.53 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 135.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.24 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 134.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.17 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.36 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 69.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.24 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 ตุลาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.05 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.09 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.53 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 135.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.24 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 134.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.17 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.36 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 69.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.24 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา